วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้


             http://ton.igetweb.com/articles/499031/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8% E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3?.html ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การศึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (ศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคม. 2542 : 1) การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้ในการที่จะสร้างสรรค์และ พัฒนาคนทั้งในแง่ความรู้ ความคิด ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การศึกษาความมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเปรียบประดุจเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งหากสังคมหรือประเทศใดประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำสังคมหรือประเทศนั้นก็จะด้อยการพัฒนากว่าสังคมหรือประเทศที่ประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับสูง

          อัชรอฟ โต๊ะซอ (http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=50&id=2520 )
 ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ ไว้ว่า ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับทุกๆคน เพราะถ้าใครมีความรู้มาก  ก็จะได้เปรียบในทุกๆเรื่องเราจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาทางด้านสามัญ หรือในวิชาการทางด้านศาสนา
ความรู้ในด้านสามัญ มีมากมายหลายแขนงซึ่งวิชาต่างๆเหล่านี้จะทำให้เท่าทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองและเท่าทันกับสิ่งที่โลกได้มีการพัฒนาไปความรู้และสิ่งต่างๆเหล่านี้มันจะทำให้เรานี้มีเกียรติยศ มีคนนับหน้าถือตา เป็นที่รู้จักกันในสังคมนั้นๆ
 ความรู้ในด้านวิชาการทางศาสนา เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะสามารถช่วยเราได้ในวันอาคีเราะห์ ซึ่งจะไม่มีใครเลยที่จะสามารถช่วยเราได้ ใครที่ทำความชั่วไว้มากก็จะถูกลงโทษ แต่ถ้าใครที่ทำความดีไว้มาก ก็ได้ จะได้รับความสุขอย่างมากมาย และผู้ที่มีความรู้เท่านั้น ที่จะสามารถรู้ได้ว่าจะทำอย่างไรดีที่จะนำพาตัวเองและครอบครัวของเขาเข้าไปสู่สวรรค์ของอัลลอฮฺ ได้
         เมื่อมีความรู้ เราจำเป็นต้องนำความรู้เหล่านี้ ไปตักเตือนหรือสอนผู้อื่น เพื่อที่จะให้ผู้อื่นนั้นได้รับความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติทางศาสนาและสิ่งที่จะนำพาผู้นั้นให้รอดพ้นจากการลงโทษในขุมนรกและนำพาตัวเองพร้อมครอบครัวเข้าไปสู่สวรรค์ของพระองค์

           http://www.kroobannok.com/blog/45566    ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ ไว้ว่า
 1. ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active Participation) หมายความว่า เมื่อครูสอนนักเรียนก็จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนของครูทั้งกายและใจ
2.ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน(Gradual approximation) ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ต้องบวกลบเลขเป็นเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้การคูณและการหาร หรือต้องเดินให้ได้เสียก่อน แล้วจึงวิ่งค่อยเหยาะ ๆ จากนั้นจึงวิ่งเร็ว ๆ เช่นนี้เป็นต้น ครูที่หวังจะสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จึงต้อง รู้จักแบ่งเนื้อหา และจัดลำดับเนื้อหาตามความยากง่าย แล้วจึงนำมาสอนทีละขั้นทีละตอนอย่างเหมาะสม
3.ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป (Immediate feedback) เมื่อนักเรียนได้ทำกิจกรรมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของครูไป แล้วเขาก็มักอยากจะ รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้าเขาได้รับข้อมูลย้อนกลับทันการและเหมาะสมเขาก็จะเกิดการเรียนรู้ ที่ดีรวมทั้งเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ต่อไป
4. การเสริมแรงหรือให้กำลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)ผู้เรียนทุกคนไม่ว่าอายุมากหรืออายุน้อย ไม่ว่าหญิงหรือชาย ล้วนต้องการกำลังใจหรือการเสริมแรงเพื่อให้ฟันฝ่าอุปสรรค แสวงหาความรู้ต่อไป

สรุปความสำคัญของการเรียนรู้คือ
          การเรียนรู้เป็นการมุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม

ที่มา                     http://ton.igetweb.com/articles/499031/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8% A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3?.html  ความสำศัญของการศึกษา เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558.

  อัชรอฟโต๊ะซอ .[online]http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=50&id=2520.ความสำศัญของการศึกษา. เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2558.

                   http://www.kroobannok.com/blog/45566  .หลักการสำคัญของการเรียนรู้ .เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558.



วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

               

               https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ ไว้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้เช่นการเล่น  อาจก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้
              http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=31536 ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ ไว้ว่า การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งค่อนข้างจะถาวรของผู้เรียนที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมหรือการมีประสบการณ์ทางตรง หรือประสบการณ์ทางอ้อม
           ประดินันท์ อุปมัย(http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html)  ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิมประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
      ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง
    ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ 
จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า
การเรียนรู้คือ การได้รับความรู้ ความพึงพอใจ การฝึกฝน หรือเป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การพัฒนาส่วนบุคลการเรียนการสอนและการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจาประสบการณ์ทางตรง และการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ที่เกิดจากทางอ้อม 
 ที่มา
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.การเรียน.เข้าถึงเมื่อ 17มิถุนายน 2558

http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=31536.กระบวนการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ17มิถุนายน2558

ประดินันท์ อุปรมัย .[online] http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.
ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้).เข้าถึงเมื่อ 17มิถุนายน 2558