วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

           http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center1.htm ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
                ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ  ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป
          การทบทวนบทบาทของครู ควรเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเรียน โดยต้องถือว่า แก่นแท้ของการเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ ถ้าจะเปรียบการทำงานของครูกับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของผู้ป่วย ด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดการบำบัดด้วยการใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน วิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคนเหมือน ๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน ครูก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูล อันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ และจากข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ครูจึงต้องหันมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของ ผู้เรียน และ การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้
             นวลจิตต์เชาวกีรติพงศ์[online]
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center3.htm     ได้กล่าวถึง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ ไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น คำถามคือ ครูจะมีวิธีการหรือเทคนิคที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ได้อย่างไร การให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง คือ การปล่อยให้ผู้เรียน เรียนรู้กันเองโดยที่ครูไม่ต้องมีบทบาทอะไร หรือใช้วิธีสั่งให้ผู้เรียนไปที่ห้องสมุด อ่านหนังสือกันเองแล้วเขียนรายงานมาส่งครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียน เป็นลักษณะที่ถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก ครูจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ นำทางไปสู่การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง หรือถ้าจะจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้โดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล ครูจะต้องสำรวจให้รู้ก่อนว่า ภายในห้องสมุดมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง อยู่ที่ใด จะค้นหาอย่างไร แล้วจึงวางแผนสั่งการ ผู้เรียนต้องรู้เป้าหมายของการค้นหาจากคำสั่งที่ครูให้ รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จ และในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ครูควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวก หรือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการ หรือปัญหาการเรียนรู้ของ ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำข้อมูลนั้นมาปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
          ปัญหาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังกล่าว อาจเกิดมาจากครูยังไม่เข้าใจเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลที่เป็นความเข้าใจเบื้องต้น จึงขอกล่าวถึงเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3 ประเด็นคือ
                1. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
                2. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับคนอื่น และ
                3. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

            http://www.sut.ac.th/tedu/news/Activity.html  ได้กล่าวถึง ลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ ดังนี้
                 1.Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความ กระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้                ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่ เตรียมการจัด           บรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
                 2.Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิด              จากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์
                 3.Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและ เครื่องมือทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่    เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่าง ๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า "การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)"
                 4.Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543 : 55-59) การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะ ต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ               ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล      ข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิด เห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี                เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

                 5.Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจสาระการเรียนรู้ ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษาท้าทาย ให้แสดง                ความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ  เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
                 6.Participation เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ         ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
                 7. Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในวามเป็นเอกัตบุคคล ผู้สอนยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
                 8.Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนไดพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น

สรุป
                การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ จัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของ ผู้เรียน และ การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
                การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
                การจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเรียน ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ได้ประยุกต์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิต ได้มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ตลอดจนมีคุณลักษณะนิสัยดีงามที่สังคมพึงปรารถนา

ที่มา
                http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center1.htm  . การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
                http://www.sut.ac.th/tedu/news/Activity.html.ลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์[online].(http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center3.htm) .เทคนิคการจัดการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.

การเรียนรู้แบบเรียนรวม

   
             http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10   ได้กล่าวถึง การศึกษาแบบเรียนรวม ไว้ว่า การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
                - เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
                 - เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
                - โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
                - โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
                - โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
                           http://taamkru.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/   ได้กล่าวถึง การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ไว้ว่า การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม การเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข
                https://www.gotoknow.org/posts/548117  ได้กล่าวถึง  การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม  ไว้ว่า
การศึกษาแบบเรียนรวม
                การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
สรุป
                การเรียนรวม คือ การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
                การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ไว้ว่า การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน
ที่มา
                http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 . การศึกษาแบบเรียนรวม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.               http://taamkru.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/.การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.

                https://www.gotoknow.org/posts/548117  . การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.

การประเมินผลการเรียนรู้

การประเมินผลการเรียนรู้
                https://www.google.co.th/#q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89   ได้กล่าวถึง  การประเมินผลการเรียนรู้ ไว้ว่า  การประเมิน (Evaluation or Assessment or Appraisal) คือ การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น โรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ  หรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับ  เช่น ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง  ร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้  ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดี และร้อยละ 80 ขึ้นไป  อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เป็นต้น  ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน            
                การประเมินผล  มีความหมายเช่นเดียวกับการประเมิน  แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำ  ที่ใช้มากมี 2 คำ คือ evaluation  และ  assessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกัน  คือ
                evaluation  เป็นการประเมินตัดสิน  มีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria)  เช่น ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ตัดสินว่าอยู่ในระดับดี  ได้คะแนนร้อยละ 6079  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้  ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุง  evaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆ ไป  เช่น  การประเมินโครงการ (Project Evaluation)  การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
                assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบ  ใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่น เทียบกับผลการประเมินครั้งก่อน  เทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกัน assessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  การประเมินตนเอง  (Self Assessment)
ลักษณะการประเมินทางการศึกษา
                1. เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้  ซึ่งควรทำการประเมินอย่างต่อเนื่อง  เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                2. เป็นการประเมินคุณลักษณะหรือพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่
                3. เป็นการประเมินในภาพรวมทั้งหมดของผู้เรียน โดยการรวบรวมข้อมูลและประมวลจากตัวเลขจากการวัดหลายวิธีและหลายแหล่ง
                4. เป็นกระบวนการเกี่ยวข้องกับบุคลหลายกลุ่ม  ทั้งครู  นักเรียน  ผู้ปกครองนักเรียน  ผู้บริหารโรงเรียน และอาจรวมถึงคณะกรรมการต่างๆ ของโรงเรียน
               http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html.    ได้กล่าวถึง การประเมินผลการเรียนรู้ ไว้ว่า
หลักการวัดผลการศึกษา
                1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอน
ของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
                2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
               3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
                4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและ มีความยุติธรรม
                5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
                http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144  ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ไว้ว่า
           ช่วงศตวรรษที่ 20 การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่คะแนนจากแบบทดสอบที่อิงบรรทัดฐานตามสถานศึกษาที่เน้นเพียงด้านความรู้ หากนำมาใช้กับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม โดย แนวโน้มของการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จะอยู่บนพื้นฐานของการประเมินพหุมิติ เช่น ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติทุกด้าน ซึ่งในการประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้
                1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
                2. พิจารณาขอบเขต เกณฑ์ วิธีการ และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะ
                3. กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน เช่น ผู้เรียน อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
                4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
                5. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น
                6. วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ
       เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้

                - การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้ ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสำคัญ
                - การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งสำหรับใช้ในการประเมิน ทางการศึกษาที่อาศัยการเก็บข้อมูลโดยมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามและจดบันทึกคำตอบ และมีผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล รายการคำถามหรือชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้ถามจะเรียกว่า แบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลสำหรับการวัดผลการประเมินผลและการวิจัย
                - แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ
                - แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ
                - บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน - การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที และควรดำเนินการตลอดเวลาเพื่อการช่วยเหลือผู้เรียน และเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์
                - แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียน ผลงาน การปฏิบัติซึ่งในการรวบรวมควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน และมีจำนวนมากพอที่จะใช้ในการประเมินผลผู้เรียน
                - แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึกพฤติกรรม ซึ่งการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดหรือไม่

สรุป
                การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้
หลักการวัดผลการศึกษา
                1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอน
ของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
                2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
                3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
                4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและ มีความยุติธรรม
                5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
                ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม

ที่มา
                      https://www.google.co.th/#q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89 . การประเมินผลการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
             http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html.การประเมินผลการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
            http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144.การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.


วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แบบประสาทสัมผัส


นิติธร ปิลวาสน์

ได้กล่าวเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ไว้ว่า
         การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า (Learning with the Five Senses) หมายถึง การจัดกิจกรรมประจำวันทั้ง 6 ตามตารางการจัดกิจกรรมประจำวันระดับปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้
เรียนด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางตาในการมองและการสังเกต
เรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางหูในการได้ยินหรือฟังเสียงต่างๆ
เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางร่างกายในการสัมผัส หยิบจับสิ่งต่างๆ
เรียนรู้รสชาติสิ่งต่างๆด้วยการใช้ประสาทสัมผัสลิ้นในการชิมรส
และเรียนรู้กลิ่นต่างๆจากการใช้ประสาทสัมผัสจมูกในการดมกลิ่น
         เนื่องจากเด็กปฐมวัยเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวด้วยการใช้สายตาในการมองและการสังเกต การสัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้รู้ว่านุ่มหรือแข็ง ขรุขระหรือเรียบ ด้วยการใช้มือและอวัยวะทางกายในการสัมผัสจับต้อง การรับรู้กลิ่นต่างๆว่า หอมหรือเหม็นด้วยการใช้จมูกในการดมกลิ่น การฟังเสียงต่างๆว่าไพเราะน่าฟังหรือเสียงดังรบกวนด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางหู และการรับ รู้เกี่ยวกับรสชาติอาหารต่างๆว่า หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม หรือเฝื่อนด้วยการใช้ลิ้นชิมรส การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นการสำรวจสิ่งต่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะทางด้านสติปัญญา เช่น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทักษะพื้น ฐานทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางภาษา เป็นต้น
 https://www.gotoknow.org/posts/562547  ได้รวบรวมเกี่ยวกับเรื่อง การใช้ประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย ไว้ว่า
        'รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัสหรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กในระดับปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการฝึกใช้ประสาทสัมผัสดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้ในระดับต่อไป
กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5  สำหรับเด็กวัยอนุบาลถึงประถม 1   เพื่อฝึกการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ และเรียนรู้ถึงการทำงานของ ตา หู จมูก ปาก และมือ  ซึ่งเป็นอวัยวะของประสาทสัมผัสเหล่านี้
การรู้จักใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเต็มศักยภาพ จะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้สรรพสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนด้วยวิธีแบบวิทยาศาสตร์ ที่เด็กจะต้องรู้จักสังเกตด้วยตา  หู  จมูก  ลิ้น และกายสัมผัส  
กิจกรรม 10 รูปแบบ ที่เต็มไปด้วยความสนุกและเพลิดเพลินต่อไปนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำเด็กไปสู่การฝึกฝนการใช้ประสาทสัมผัสของตนเอง โดยครูสามารถเลือกใช้บางส่วนหรือทั้งหมด หรืออาจนำไปประยุกต์ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพของเด็กและโรงเรียน 
 อะไรอยู่ในกล่อง  การนำสิ่งของชนิดต่างๆ ใส่ไว้ในกล่อง แล้วให้เด็กทายว่าของในกล่องคืออะไร เป็นการทดลองเพื่อฝึกประสาทสัมผัสในส่วนของการได้ยิน  กิจกรรมนี้ทำได้ง่ายๆ แต่สนุกสนานมากสำหรับเด็ก เพียงแค่เตรียมกล่องเปล่า  กระป๋อง หรืออุปกรณ์สำหรับบรรจุสิ่งของต่างๆ จากนั้นใส่สิ่งของเข้าไปในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็น เขย่ากล่อง  แล้วให้เด็กแต่ละคนทายว่าอะไรอยู่ในกล่องด้วยการเดาจากเสียงที่ได้ยิน  ครูอาจให้เด็กจับคู่แล้วสลับกันถามตอบก็ได้
          กลิ่นอะไรเอ่ย    กิจกรรมนี้จัดขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสการรับกลิ่น  โดยให้วางก้อนสำลีไว้ในถ้วย จากนั้นหยดน้ำที่ผสมกลิ่นต่างๆ ลงแต่ละถ้วย เช่น กลิ่นวนิลา  ส้ม  มะนาว  กาแฟ หรือกลิ่นอะไรก็ได้ที่ปลอดภัยในการสูดดม ให้เด็กดมกลิ่นในแต่ละถ้วย แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร
         อะไรหายไป   เกมนี้ส่งเสริมการใช้สายตาหรือการมองเห็น เด็กๆ สามารถเล่นเกมนี้ได้ง่าย   เพียงแค่ครูย้ายสิ่งของออกจากห้องเรียนในขณะที่เด็กไม่เห็น  แล้วให้เด็กแต่ละคนค้นหาสิ่งของที่หายไปจากห้อง โดยครูคอยบอกใบ้ให้ว่าของที่หายไปมีลักษณะอย่างไร เช่น ทรงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม   หรือมีลักษณะอื่นๆ  แล้วให้เด็กนึกทบทวนคำตอบจากภาพที่เคยเห็น
          ชอบโอวัลตินหรือไมโล  เป็นการทดสอบประสาทสัมผัสลิ้น เพียงแค่ให้เด็กดื่มเครื่องดื่มประเภทเดียวกัน แต่ต่างยี่ห้อ เช่น โอวัลติน และไมโล โดยไม่ให้เด็กบอกว่าชอบโกโก้ยี่ห้อไหนมากกว่ากันก่อนที่จะได้ลิ้มลองรสชาติที่แท้จริง
          ตาบอดสี  อาการตาบอดสีถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของ เรตินาที่อยู่ในดวงตา  ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ประมาณกันว่า ผู้ชาย 10 คน มี 1 คน ที่มีโอกาสเกิดอาการตาบอดสี  ในขณะที่เกิดกับผู้หญิงมีจำนวนน้อย  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กคนใดมีอาการตาบอดสีหรือไม่  ด้วยการให้นักเรียนมองแผ่นภาพ ซึ่งประกอบด้วยรูปวงกลม  ดาว และสี่เหลี่ยม ดังตัวอย่าง  โดยให้รูปทรงต่างๆ เป็นสีส้ม ส่วนพื้นเป็นสีเขียว ถ้าเด็กคนใดไม่สามารถบอกได้ว่าในแผ่นภาพนั้นมีรูปอะไรบ้าง แสดงว่าเด็กคนนั้นตาบอดสี ซึ่งครูควรให้การเอาใจใส่เป็นพิเศษและจัดการเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก
          มีอะไรอยู่ในถุง  เป็นการฝึกใช้ประสาทสัมผัสในส่วนของกายสัมผัส โดยใส่สิ่งของที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม   หยาบ ขรุขระ  ลื่น หรืออื่นๆ  ในถุงกระดาษ  ส่งถุงไปรอบๆ ห้อง ให้เด็กแต่ละคนล้วงมือลงไปสัมผัสสิ่งของในถุงโดยห้ามมอง  แล้วเดาว่าเป็นอะไร  เมื่อเด็กทุกคนได้สัมผัสสิ่งของในถุงจนครบ   เขียนคำตอบที่เด็กแต่ละคนทายบนกระดาน ก่อนจะเฉลยว่าอะไรอยู่ข้างในถุงกระดาษแต่ละใบ
         ภาพลวงตา  ภาพที่มองเห็นเชื่อได้หรือไม่ เพราะบางครั้งอาจเป็นภาพลวงตา การทดสอบประสาทสัมผัสทางตาเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเด็ก  ทำได้โดยการให้เด็กมองแผ่นภาพรูปช้างหรือรูปเส้นตรงดังตัวอย่าง แล้วให้ตอบว่าช้างมีกี่ขา และเส้นตรงเส้นใดยาวกว่า ซึ่งแต่ละคนมองเห็นต่างกัน  จากนั้นครูจึงเฉลยว่าช้างมี  ขา ส่วนเส้นตรงทั้งสองเส้นยาวเท่ากัน                                
         สร้างสรรค์เครื่องดนตรี  กิจกรรมนี้จะช่วยทดสอบประสาทสัมผัสการได้ยินและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ครูให้เด็กตั้งวงดนตรีขึ้นมา  ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องดนตรีเป็นของตนเอง  รวมทั้งร้องเพลงให้เพื่อนร่วมห้องฟัง  เด็กแต่ละกลุ่มอาจสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ ที่ทำจากขวดแก้ว กระป๋องโลหะ  หรือแผ่นไม้ การจัดกิจกรรมนี้ควรปล่อยให้เด็กทำเต็มความสามารถ โดยไม่จำกัดเวลา
         อักษรเบรลล์  อธิบายให้เด็กฟังว่าคนตาบอดใช้อักษรเบรลล์อย่างไร พร้อมกับเชิญชวนให้เด็กๆ ออกแบบระบบการสื่อสารสำหรับคนตาบอด  โดยกำหนดหัวข้อการออกแบบไว้ว่า  ระบบที่ออกแบบมีการทำงานอย่างไร  และมีการใช้งานแตกต่างจากอักษรเบรลล์อย่างไร กิจกรรมนี้จะช่วยฝึกเด็กในเรื่องของการสัมผัส
         ความรู้สึกผ่านสายตา  ถึงแม้ว่าเด็กไม่สามารถจับต้องสิ่งที่เห็นในรูปภาพ  แต่การจินตนาการจะช่วยเติมเต็มช่องว่างส่วนนี้ของเด็ก ได้   โดยครูอาจให้เด็กดูภาพผลไม้ ดอกไม้ เครื่องดนตรี   อาหาร  หรือภาพอื่นๆ แล้วให้เด็กบรรยายรูปผ่านสายตาให้ครบทุกประสาทสัมผัส เช่น เมื่อเด็กเห็นภาพผลส้ม เด็กอาจบรรยายว่าเป็นสิ่งของที่มีลักษณะกลม  ผิวเรียบลื่น  กลิ่นส้ม รสชาติเปรี้ยวหวาน มีสีเหลืองหรือเขียวปนเหลือง  มีเสียงจี๊ดจ๊าด เป็นต้น
         ภายหลังที่เด็กได้ฝึกทักษะและรู้จักหน้าที่ของประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ ดีพอสมควรแล้ว ให้ครูจัดกิจกรรมที่เรียกว่า 'บทกวีแห่งความรู้สึก ขึ้น เพื่อทดสอบความเข้าใจและความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสของเด็ก โดยครูแต่งบทกลอนเรื่อง "ความสุข" ที่โยงเข้ากับเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 เขียนแล้วอ่านให้เด็กฟัง


สรุป
การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ
           เรียนด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางตาในการมองและการสังเกต
         เรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางหูในการได้ยินหรือฟังเสียงต่างๆ
          เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางร่างกายในการสัมผัส หยิบจับสิ่งต่างๆ
           เรียนรู้รสชาติสิ่งต่างๆด้วยการใช้ประสาทสัมผัสลิ้นในการชิม
          และเรียนรู้กลิ่นต่างๆจากการใช้ประสาทสัมผัสจมูกในการดมกลิ่น
   'รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัสหรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กในระดับปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการฝึกใช้ประสาทสัมผัสดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้ในระดับต่อไป
กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5  สำหรับเด็กวัยอนุบาลถึงประถม 1   เพื่อฝึกการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ และเรียนรู้ถึงการทำงานของ ตา หู จมูก ปาก และมือ  ซึ่งเป็นอวัยวะของประสาทสัมผัสเหล่านี้
การรู้จักใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเต็มศักยภาพ จะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้สรรพสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนด้วยวิธีแบบวิทยาศาสตร์ ที่เด็กจะต้องรู้จักสังเกตด้วยตา  หู  จมูก  ลิ้น และกายสัมผัส  

ที่มา
นิติธร ปิลวาสน์ [online] http://taamkru.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2/ .การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า. เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558.

https://www.gotoknow.org/posts/562547 . การใช้ประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย .เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558.