การประเมินผลการเรียนรู้
https://www.google.co.th/#q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89
ได้กล่าวถึง การประเมินผลการเรียนรู้ ไว้ว่า การประเมิน (Evaluation or Assessment or
Appraisal) คือ การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ
นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล
โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น
โรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60
นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ หรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับ เช่น ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40 อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง ร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดี และร้อยละ 80
ขึ้นไป อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน
การประเมินผล มีความหมายเช่นเดียวกับการประเมิน แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำ ที่ใช้มากมี 2 คำ คือ evaluation และ assessment 2
คำนี้มีความหมายต่างกัน คือ
evaluation เป็นการประเมินตัดสิน มีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute
criteria) เช่น
ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ตัดสินว่าอยู่ในระดับดี
ได้คะแนนร้อยละ 60 – 79 ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้ ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60 ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุง evaluation จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆ
ไป เช่น
การประเมินโครงการ (Project Evaluation) การประเมินหลักสูตร (Curriculum
Evaluation)
assessment เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบ ใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative
criteria) เช่น เทียบกับผลการประเมินครั้งก่อน เทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกัน assessment มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์
เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การประเมินตนเอง (Self
Assessment)
ลักษณะการประเมินทางการศึกษา
1.
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งควรทำการประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.
เป็นการประเมินคุณลักษณะหรือพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่
3.
เป็นการประเมินในภาพรวมทั้งหมดของผู้เรียน
โดยการรวบรวมข้อมูลและประมวลจากตัวเลขจากการวัดหลายวิธีและหลายแหล่ง
4.
เป็นกระบวนการเกี่ยวข้องกับบุคลหลายกลุ่ม
ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และอาจรวมถึงคณะกรรมการต่างๆ
ของโรงเรียน
http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html. ได้กล่าวถึง การประเมินผลการเรียนรู้ ไว้ว่า
หลักการวัดผลการศึกษา
1.
ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ
การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอน
ของครูว่า
นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2.
เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม
การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
ใช้เครื่องมือวัดหลาย
ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3.
ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด
ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง
เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและ มีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด
และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144 ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ไว้ว่า
ช่วงศตวรรษที่ 20
การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่คะแนนจากแบบทดสอบที่อิงบรรทัดฐานตามสถานศึกษาที่เน้นเพียงด้านความรู้
หากนำมาใช้กับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ
และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต
โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้
แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน
คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม โดย แนวโน้มของการประเมินผลในศตวรรษที่ 21
จะอยู่บนพื้นฐานของการประเมินพหุมิติ เช่น ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติทุกด้าน
ซึ่งในการประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
2. พิจารณาขอบเขต เกณฑ์ วิธีการ
และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ
ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ
ความรู้สึกและคุณลักษณะ
3.
กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน เช่น ผู้เรียน
อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
4.
เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน
เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
5.
กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม
ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น
6.
วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน
การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้
ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้
- การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา
นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้
ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย
ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสำคัญ
- การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งสำหรับใช้ในการประเมิน
ทางการศึกษาที่อาศัยการเก็บข้อมูลโดยมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามและจดบันทึกคำตอบ
และมีผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล
รายการคำถามหรือชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้ถามจะเรียกว่า “แบบสัมภาษณ์”
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลสำหรับการวัดผลการประเมินผลและการวิจัย
- แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ
เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ
และความสนใจต่างๆ
- แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ
และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต
บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ
- บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้
ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน -
การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที
และควรดำเนินการตลอดเวลาเพื่อการช่วยเหลือผู้เรียน
และเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์
- แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียน
ผลงาน การปฏิบัติซึ่งในการรวบรวมควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีผสมผสานกัน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน และมีจำนวนมากพอที่จะใช้ในการประเมินผลผู้เรียน
- แบบสำรวจรายการ
เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึกพฤติกรรม
ซึ่งการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดหรือไม่
สรุป
การประเมิน
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ
นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล
โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้
หลักการวัดผลการศึกษา
1.
ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ
การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอน
ของครูว่า
นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2.
เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม
การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
ใช้เครื่องมือวัดหลาย
ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3.
ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด
ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง
เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและ มีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด
และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
ในศตวรรษที่ 21
ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ
และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต
โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้
แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน
คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม
ที่มา
https://www.google.co.th/#q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89
. การประเมินผลการเรียนรู้.
เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html.การประเมินผลการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144.การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.เข้าถึงเมื่อ
17 กันยายน 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น