วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แบบประสาทสัมผัส


นิติธร ปิลวาสน์

ได้กล่าวเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ไว้ว่า
         การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า (Learning with the Five Senses) หมายถึง การจัดกิจกรรมประจำวันทั้ง 6 ตามตารางการจัดกิจกรรมประจำวันระดับปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้
เรียนด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางตาในการมองและการสังเกต
เรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางหูในการได้ยินหรือฟังเสียงต่างๆ
เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางร่างกายในการสัมผัส หยิบจับสิ่งต่างๆ
เรียนรู้รสชาติสิ่งต่างๆด้วยการใช้ประสาทสัมผัสลิ้นในการชิมรส
และเรียนรู้กลิ่นต่างๆจากการใช้ประสาทสัมผัสจมูกในการดมกลิ่น
         เนื่องจากเด็กปฐมวัยเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวด้วยการใช้สายตาในการมองและการสังเกต การสัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้รู้ว่านุ่มหรือแข็ง ขรุขระหรือเรียบ ด้วยการใช้มือและอวัยวะทางกายในการสัมผัสจับต้อง การรับรู้กลิ่นต่างๆว่า หอมหรือเหม็นด้วยการใช้จมูกในการดมกลิ่น การฟังเสียงต่างๆว่าไพเราะน่าฟังหรือเสียงดังรบกวนด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางหู และการรับ รู้เกี่ยวกับรสชาติอาหารต่างๆว่า หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม หรือเฝื่อนด้วยการใช้ลิ้นชิมรส การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นการสำรวจสิ่งต่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะทางด้านสติปัญญา เช่น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทักษะพื้น ฐานทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางภาษา เป็นต้น
 https://www.gotoknow.org/posts/562547  ได้รวบรวมเกี่ยวกับเรื่อง การใช้ประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย ไว้ว่า
        'รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัสหรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กในระดับปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการฝึกใช้ประสาทสัมผัสดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้ในระดับต่อไป
กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5  สำหรับเด็กวัยอนุบาลถึงประถม 1   เพื่อฝึกการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ และเรียนรู้ถึงการทำงานของ ตา หู จมูก ปาก และมือ  ซึ่งเป็นอวัยวะของประสาทสัมผัสเหล่านี้
การรู้จักใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเต็มศักยภาพ จะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้สรรพสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนด้วยวิธีแบบวิทยาศาสตร์ ที่เด็กจะต้องรู้จักสังเกตด้วยตา  หู  จมูก  ลิ้น และกายสัมผัส  
กิจกรรม 10 รูปแบบ ที่เต็มไปด้วยความสนุกและเพลิดเพลินต่อไปนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำเด็กไปสู่การฝึกฝนการใช้ประสาทสัมผัสของตนเอง โดยครูสามารถเลือกใช้บางส่วนหรือทั้งหมด หรืออาจนำไปประยุกต์ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพของเด็กและโรงเรียน 
 อะไรอยู่ในกล่อง  การนำสิ่งของชนิดต่างๆ ใส่ไว้ในกล่อง แล้วให้เด็กทายว่าของในกล่องคืออะไร เป็นการทดลองเพื่อฝึกประสาทสัมผัสในส่วนของการได้ยิน  กิจกรรมนี้ทำได้ง่ายๆ แต่สนุกสนานมากสำหรับเด็ก เพียงแค่เตรียมกล่องเปล่า  กระป๋อง หรืออุปกรณ์สำหรับบรรจุสิ่งของต่างๆ จากนั้นใส่สิ่งของเข้าไปในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็น เขย่ากล่อง  แล้วให้เด็กแต่ละคนทายว่าอะไรอยู่ในกล่องด้วยการเดาจากเสียงที่ได้ยิน  ครูอาจให้เด็กจับคู่แล้วสลับกันถามตอบก็ได้
          กลิ่นอะไรเอ่ย    กิจกรรมนี้จัดขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสการรับกลิ่น  โดยให้วางก้อนสำลีไว้ในถ้วย จากนั้นหยดน้ำที่ผสมกลิ่นต่างๆ ลงแต่ละถ้วย เช่น กลิ่นวนิลา  ส้ม  มะนาว  กาแฟ หรือกลิ่นอะไรก็ได้ที่ปลอดภัยในการสูดดม ให้เด็กดมกลิ่นในแต่ละถ้วย แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร
         อะไรหายไป   เกมนี้ส่งเสริมการใช้สายตาหรือการมองเห็น เด็กๆ สามารถเล่นเกมนี้ได้ง่าย   เพียงแค่ครูย้ายสิ่งของออกจากห้องเรียนในขณะที่เด็กไม่เห็น  แล้วให้เด็กแต่ละคนค้นหาสิ่งของที่หายไปจากห้อง โดยครูคอยบอกใบ้ให้ว่าของที่หายไปมีลักษณะอย่างไร เช่น ทรงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม   หรือมีลักษณะอื่นๆ  แล้วให้เด็กนึกทบทวนคำตอบจากภาพที่เคยเห็น
          ชอบโอวัลตินหรือไมโล  เป็นการทดสอบประสาทสัมผัสลิ้น เพียงแค่ให้เด็กดื่มเครื่องดื่มประเภทเดียวกัน แต่ต่างยี่ห้อ เช่น โอวัลติน และไมโล โดยไม่ให้เด็กบอกว่าชอบโกโก้ยี่ห้อไหนมากกว่ากันก่อนที่จะได้ลิ้มลองรสชาติที่แท้จริง
          ตาบอดสี  อาการตาบอดสีถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของ เรตินาที่อยู่ในดวงตา  ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ประมาณกันว่า ผู้ชาย 10 คน มี 1 คน ที่มีโอกาสเกิดอาการตาบอดสี  ในขณะที่เกิดกับผู้หญิงมีจำนวนน้อย  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กคนใดมีอาการตาบอดสีหรือไม่  ด้วยการให้นักเรียนมองแผ่นภาพ ซึ่งประกอบด้วยรูปวงกลม  ดาว และสี่เหลี่ยม ดังตัวอย่าง  โดยให้รูปทรงต่างๆ เป็นสีส้ม ส่วนพื้นเป็นสีเขียว ถ้าเด็กคนใดไม่สามารถบอกได้ว่าในแผ่นภาพนั้นมีรูปอะไรบ้าง แสดงว่าเด็กคนนั้นตาบอดสี ซึ่งครูควรให้การเอาใจใส่เป็นพิเศษและจัดการเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก
          มีอะไรอยู่ในถุง  เป็นการฝึกใช้ประสาทสัมผัสในส่วนของกายสัมผัส โดยใส่สิ่งของที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม   หยาบ ขรุขระ  ลื่น หรืออื่นๆ  ในถุงกระดาษ  ส่งถุงไปรอบๆ ห้อง ให้เด็กแต่ละคนล้วงมือลงไปสัมผัสสิ่งของในถุงโดยห้ามมอง  แล้วเดาว่าเป็นอะไร  เมื่อเด็กทุกคนได้สัมผัสสิ่งของในถุงจนครบ   เขียนคำตอบที่เด็กแต่ละคนทายบนกระดาน ก่อนจะเฉลยว่าอะไรอยู่ข้างในถุงกระดาษแต่ละใบ
         ภาพลวงตา  ภาพที่มองเห็นเชื่อได้หรือไม่ เพราะบางครั้งอาจเป็นภาพลวงตา การทดสอบประสาทสัมผัสทางตาเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเด็ก  ทำได้โดยการให้เด็กมองแผ่นภาพรูปช้างหรือรูปเส้นตรงดังตัวอย่าง แล้วให้ตอบว่าช้างมีกี่ขา และเส้นตรงเส้นใดยาวกว่า ซึ่งแต่ละคนมองเห็นต่างกัน  จากนั้นครูจึงเฉลยว่าช้างมี  ขา ส่วนเส้นตรงทั้งสองเส้นยาวเท่ากัน                                
         สร้างสรรค์เครื่องดนตรี  กิจกรรมนี้จะช่วยทดสอบประสาทสัมผัสการได้ยินและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ครูให้เด็กตั้งวงดนตรีขึ้นมา  ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องดนตรีเป็นของตนเอง  รวมทั้งร้องเพลงให้เพื่อนร่วมห้องฟัง  เด็กแต่ละกลุ่มอาจสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ ที่ทำจากขวดแก้ว กระป๋องโลหะ  หรือแผ่นไม้ การจัดกิจกรรมนี้ควรปล่อยให้เด็กทำเต็มความสามารถ โดยไม่จำกัดเวลา
         อักษรเบรลล์  อธิบายให้เด็กฟังว่าคนตาบอดใช้อักษรเบรลล์อย่างไร พร้อมกับเชิญชวนให้เด็กๆ ออกแบบระบบการสื่อสารสำหรับคนตาบอด  โดยกำหนดหัวข้อการออกแบบไว้ว่า  ระบบที่ออกแบบมีการทำงานอย่างไร  และมีการใช้งานแตกต่างจากอักษรเบรลล์อย่างไร กิจกรรมนี้จะช่วยฝึกเด็กในเรื่องของการสัมผัส
         ความรู้สึกผ่านสายตา  ถึงแม้ว่าเด็กไม่สามารถจับต้องสิ่งที่เห็นในรูปภาพ  แต่การจินตนาการจะช่วยเติมเต็มช่องว่างส่วนนี้ของเด็ก ได้   โดยครูอาจให้เด็กดูภาพผลไม้ ดอกไม้ เครื่องดนตรี   อาหาร  หรือภาพอื่นๆ แล้วให้เด็กบรรยายรูปผ่านสายตาให้ครบทุกประสาทสัมผัส เช่น เมื่อเด็กเห็นภาพผลส้ม เด็กอาจบรรยายว่าเป็นสิ่งของที่มีลักษณะกลม  ผิวเรียบลื่น  กลิ่นส้ม รสชาติเปรี้ยวหวาน มีสีเหลืองหรือเขียวปนเหลือง  มีเสียงจี๊ดจ๊าด เป็นต้น
         ภายหลังที่เด็กได้ฝึกทักษะและรู้จักหน้าที่ของประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ ดีพอสมควรแล้ว ให้ครูจัดกิจกรรมที่เรียกว่า 'บทกวีแห่งความรู้สึก ขึ้น เพื่อทดสอบความเข้าใจและความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสของเด็ก โดยครูแต่งบทกลอนเรื่อง "ความสุข" ที่โยงเข้ากับเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 เขียนแล้วอ่านให้เด็กฟัง


สรุป
การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ
           เรียนด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางตาในการมองและการสังเกต
         เรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางหูในการได้ยินหรือฟังเสียงต่างๆ
          เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางร่างกายในการสัมผัส หยิบจับสิ่งต่างๆ
           เรียนรู้รสชาติสิ่งต่างๆด้วยการใช้ประสาทสัมผัสลิ้นในการชิม
          และเรียนรู้กลิ่นต่างๆจากการใช้ประสาทสัมผัสจมูกในการดมกลิ่น
   'รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัสหรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กในระดับปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการฝึกใช้ประสาทสัมผัสดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้ในระดับต่อไป
กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5  สำหรับเด็กวัยอนุบาลถึงประถม 1   เพื่อฝึกการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ และเรียนรู้ถึงการทำงานของ ตา หู จมูก ปาก และมือ  ซึ่งเป็นอวัยวะของประสาทสัมผัสเหล่านี้
การรู้จักใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเต็มศักยภาพ จะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้สรรพสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนด้วยวิธีแบบวิทยาศาสตร์ ที่เด็กจะต้องรู้จักสังเกตด้วยตา  หู  จมูก  ลิ้น และกายสัมผัส  

ที่มา
นิติธร ปิลวาสน์ [online] http://taamkru.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2/ .การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า. เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558.

https://www.gotoknow.org/posts/562547 . การใช้ประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย .เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558.



องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

                                 องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html  ได้รวบรวมองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
       ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
      ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
    เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
     สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดีและจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

เฉลิมลาภ   ทองอาจ ( https://www.gotoknow.org/posts/502729) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของการสอนไว้ว่า
     โดยทั่วไปมักจะมีการแบ่งองค์ประกอบของการเรียนการสอนในลักษณะของโครงสร้าง  (structure)  และกระบวนการ (process)  ในลักษณะโครงสร้าง คือ แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น  วัตถุประสงค์  เนื้อหาสาระ  กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ในขณะที่การแบ่งตามกระบวนการนั้น โดยทั่วไปมักใช้เป็นขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ  ขั้นสอนและขั้นสรุป      โดยหากจะขยายออกไปตามแนวคิดการปรากฏขึ้นของการสอนของ Gagne ก็จะทำให้สามารถแบ่งองค์ประกอบของการเรียนการสอนไปตามขั้นตอนต่างๆ   ขั้นตอน ประกอบด้วย การทำให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจ  การแจ้งวัตถุประสงค์  การนำเสนอเนื้อหา  การทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิม  การนำเสนอเนื้อหา  การให้คำแนะนำโดยครู  การให้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง  การให้ผลป้อนกลับ  การประเมินและการถ่ายโอนการเรียนรู้  อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า แม้จะมีการแบ่งขั้นตอนของการเรียนการสอนออกเป็นโครงสร้างหรือลำดับต่างๆ แล้วก็ตาม  แต่โดยสรุปแล้ว  สภาพหรือปรากฏการณ์ของการเกิดการเรียนการสอนดังที่กล่าวมานั้น ย่อมมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สามประการ ได้แก่  การเกิดขึ้นของ  การนำเสนอสาระการเรียนรู้  การเกิดขึ้นของการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ  และการเกิดขึ้นของปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน  ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว อาจจะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถนำไปพิจารณาการออกแบบการจัดการเรียนการสอน (instructional design) ได้

http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-3.html ได้รวบรวมองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
       การวัดผลและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการสอน  และเป็นส่วนสำคัญที่ผู้สอนจะแสวงหาแนวทางให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์   ที่ตั้งไว้   ผู้สอนจะต้องรู้ความสามารถของผู้เรียน  และข้อบกพร่องของผู้เรียนโดยอาศัยกระบวนการของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ดังนั้นในการจัดการศึกษาจึงต้องดำเนินการให้ครบองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ  ดังนี้ 
       ปรัชญาการศึกษา (Education  Philosophy) เป็นสิ่งที่กำหนดเป้าหมาย หรือทิศทางของการศึกษาว่าต้องการให้เกิดผลหรือคุณภาพเช่นไรแก่ผู้เรียน  หรือต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร
       หลักสูตร (Curriculum) เป็นสิ่งกำหนดคุณลักษณะผู้เรียนที่จะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการจะต้องมีคุณสมบัติ  คุณภาพอย่างไร  และต้องเรียนรู้สิ่งใด
       การสอน (Teaching) เป็นกระบวนการที่ชักนำ ปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดคุณสมบัติมีคุณภาพและเรียนรู้ตามหลักสูตรกำหนด  เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  โดยใช้วิธีสอนและจิตวิทยาเป็นเครื่องประกอบ
       การประเมินผล (Evaluation)เป็นกระบวนการพิจารณาตีราคาหรือตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนว่าบังเกิดคุณลักษณะต่าง ๆ ตามที่ กำหนดมากน้อยเพียงใด
        การวิจัย (Research) เป็นกระบวนการหาความจริงหรือสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นแนวทางนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินผลต่อไป


สรุป
องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ
         ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ
         ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย
        เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
         สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ

ที่มา
                http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html . องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ . เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558 .

                เฉลิมลาภ   ทองอาจ . [online]  ( https://www.gotoknow.org/posts/502729) . องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน . เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558 .

                http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-3.html. องค์ประกอบของการจัดการศึกษา . เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558 .