วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

                                 องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html  ได้รวบรวมองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
       ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
      ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
    เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
     สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดีและจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

เฉลิมลาภ   ทองอาจ ( https://www.gotoknow.org/posts/502729) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของการสอนไว้ว่า
     โดยทั่วไปมักจะมีการแบ่งองค์ประกอบของการเรียนการสอนในลักษณะของโครงสร้าง  (structure)  และกระบวนการ (process)  ในลักษณะโครงสร้าง คือ แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น  วัตถุประสงค์  เนื้อหาสาระ  กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ในขณะที่การแบ่งตามกระบวนการนั้น โดยทั่วไปมักใช้เป็นขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ  ขั้นสอนและขั้นสรุป      โดยหากจะขยายออกไปตามแนวคิดการปรากฏขึ้นของการสอนของ Gagne ก็จะทำให้สามารถแบ่งองค์ประกอบของการเรียนการสอนไปตามขั้นตอนต่างๆ   ขั้นตอน ประกอบด้วย การทำให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจ  การแจ้งวัตถุประสงค์  การนำเสนอเนื้อหา  การทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิม  การนำเสนอเนื้อหา  การให้คำแนะนำโดยครู  การให้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง  การให้ผลป้อนกลับ  การประเมินและการถ่ายโอนการเรียนรู้  อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า แม้จะมีการแบ่งขั้นตอนของการเรียนการสอนออกเป็นโครงสร้างหรือลำดับต่างๆ แล้วก็ตาม  แต่โดยสรุปแล้ว  สภาพหรือปรากฏการณ์ของการเกิดการเรียนการสอนดังที่กล่าวมานั้น ย่อมมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สามประการ ได้แก่  การเกิดขึ้นของ  การนำเสนอสาระการเรียนรู้  การเกิดขึ้นของการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ  และการเกิดขึ้นของปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน  ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว อาจจะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถนำไปพิจารณาการออกแบบการจัดการเรียนการสอน (instructional design) ได้

http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-3.html ได้รวบรวมองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
       การวัดผลและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการสอน  และเป็นส่วนสำคัญที่ผู้สอนจะแสวงหาแนวทางให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์   ที่ตั้งไว้   ผู้สอนจะต้องรู้ความสามารถของผู้เรียน  และข้อบกพร่องของผู้เรียนโดยอาศัยกระบวนการของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ดังนั้นในการจัดการศึกษาจึงต้องดำเนินการให้ครบองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ  ดังนี้ 
       ปรัชญาการศึกษา (Education  Philosophy) เป็นสิ่งที่กำหนดเป้าหมาย หรือทิศทางของการศึกษาว่าต้องการให้เกิดผลหรือคุณภาพเช่นไรแก่ผู้เรียน  หรือต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร
       หลักสูตร (Curriculum) เป็นสิ่งกำหนดคุณลักษณะผู้เรียนที่จะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการจะต้องมีคุณสมบัติ  คุณภาพอย่างไร  และต้องเรียนรู้สิ่งใด
       การสอน (Teaching) เป็นกระบวนการที่ชักนำ ปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดคุณสมบัติมีคุณภาพและเรียนรู้ตามหลักสูตรกำหนด  เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  โดยใช้วิธีสอนและจิตวิทยาเป็นเครื่องประกอบ
       การประเมินผล (Evaluation)เป็นกระบวนการพิจารณาตีราคาหรือตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนว่าบังเกิดคุณลักษณะต่าง ๆ ตามที่ กำหนดมากน้อยเพียงใด
        การวิจัย (Research) เป็นกระบวนการหาความจริงหรือสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นแนวทางนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินผลต่อไป


สรุป
องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ
         ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ
         ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย
        เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
         สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ

ที่มา
                http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html . องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ . เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558 .

                เฉลิมลาภ   ทองอาจ . [online]  ( https://www.gotoknow.org/posts/502729) . องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน . เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558 .

                http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-3.html. องค์ประกอบของการจัดการศึกษา . เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558 .


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น